7 วิธีรับมือช่วงโควิดของร้านขายของชำ
สถาณการณ์การแพร่ระบาดของ
โควิด 19 ร้านขายของชำหรือร้านโชห่วย ต้องมีมาตรการรับมือเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า
และคำนึงถึงความปลอดภัยมากที่สุด วันนี้จึงอยากจะขอนำเสนอ 7 วิธีรับมือช่วง โควิด 19 ของ “ร้านขายของชำ” ว่ามีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย ...
อีกหนึ่งธุรกิจที่จะต้องปรับตัวรับมือ โควิด 19 อย่างร้านขายของชำหรือร้านโชห่วย ซึ่งในความโชคร้ายก็ยังถือว่ามีความโชคดีอยู่บ้าง เพราะสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นที่ต้องการของผู้คนมากขึ้น
ด้งนั้นร้านค้าต่าง ๆ จึงต้องมีมาตรการรับมือเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และคำนึงถึงความปลอดภัยมากที่สุด วันนี้จึงอยากจะขอนำเสนอ 7 วิธีรับมือช่วง โควิด 19 ของ “ร้านขายของชำ” ว่ามีอะไรบ้าง
1.เว้นระยะห่างบุคคล
สิ่งแรกที่ร้านค้าควรจะจัดระบบเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด คือ การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล หรือ การทำ Social Distancing โดยเฉพาะร้านของชำหรือร้านโชห่วยที่ไม่ได้มีพื้นที่มากนักควรจัดสรรพื้นที่ให้ดี ควรจะเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างน้อย 1.5 - 2 เมตร โดยทำเครื่องหมายเว้นระยะห่างระหว่างรอคิวเข้าร้านให้ชัดเจน รวมถึงจำกัดจำนวนลูกค้าที่เข้าร้านแต่ละครั้งด้วย ร้านจะได้ลดความแออัดและช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ โควิด 19
2.ให้ลูกค้าสวมหน้ากากก่อนเข้าร้าน
ร้านค้าควรติดป้ายประกาศให้ลูกค้าทุกคนต้องสวมหน้ากากก่อนเข้าร้านทุกครั้ง ในส่วนนี้ควรจะต้องเข้มงวดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดสู่ลูกค้ารายอื่น และตัวเจ้าของร้านเอง
3. ตรวจวัดอุณหภูมิลูกค้าก่อนเข้าร้านทุกครั้ง
ในส่วนนี้ถือเป็นการคัดกรองเบื้องต้นที่ดีที่สุด ซึ่งจำเป็นต้องมีเคร่งครัด ไม่หละหลวม เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าลูกค้าที่มาซื้อสินค้าในร้านขายของชำเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงมาหรือเปล่า ดังนั้นควรตรวจวัดอุณหภูมิลูกค้าทุกคน เรียกว่า ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า
4. เตรียมเจลแอลกอฮอล์ไว้บริการ
ทางร้านควรเตรียมเจลแอลกอฮอล์ล้างมือไว้ให้ลูกค้าได้ใช้ก่อนเข้าร้าน เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อที่อาจจะเกิดจากการสัมผัสสิ่งต่างๆ ก่อนเข้ามาในร้าน รวมถึงตรงพื้นที่จ่างเงินก็ควรจะมีเจลแอลกอฮอล์เตรียมไว้ด้วยเช่นกัน
5. มั่นฆ่าเชื้อภายในร้าน
เป็นที่รู้อยู่แล้วว่าเชื้อ โควิด 19 สามารถอยู่บนพื้นผิวได้นานถึง 1-3 วัน ทั้งติดต่อกันง่ายผ่านการสูดลมหายใจเอาละอองน้ำมูกน้ำลายหรือ Droplet ที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป และการสัมผัส (Contact) กับละอองนั้น ๆ ทางร้านจึงควรทำความสะอาดฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ และก็ต้องแจ้งเวลาเปิด-ปิดร้านลูกค้าก่อนปิด-เปิดร้านในการฆ่าเชื้อเพื่อทำความเข้าใจตรงกันและมอบประสบการณ์ที่สะดวกสบายที่สุดให้กับลูกค้า
6.ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจ่ายเงิน
หากเป็นไปได้ทางร้านควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการจ่ายเงินผ่านทาง QR Code หรือ อินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง แทนการรับเงินสด เพราะองค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนแล้วว่า เงินสดอย่างธนบัตรและเหรียญ อาจะเป็นพาหะของการแพร่เชื้อ COVID-19 ชั้นเยี่ยม เนื่องจากเงินสดที่เราใช้กันนั้นมีการเปลี่ยนมืออย่างรวดเร็ว
7.ขายออนไลน์จัดส่งแบบเดลิเวอรี่
การมีหน้าร้านแบบออนไลน์จะตอบโจทย์ลูกค้าได้เป็นอย่างดีในช่วงนี้ เพราะทุกคนล้วนแต่ไม่อยากจะออกนอกบ้านเพื่อไปเที่ยงกับการรับเชื้อ ซึ่งทางร้านอาจจะมีการนำเสนอสินค้าผ่านทาง เว็บไซต์ หรือ facebook ให้ลูกค้าได้เลือกซื้อ และมีบริการจัดส่งถึงที่ให้ด้วย